ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร รายได้ การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชโยมาทางทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดอ่างทองมาทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ตามถนนทางหลวงหมายเลข ๓๒ (บางปะอิน - นครสวรรค์)
อาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ มีพื้นที่โดยประมาณ ๙ ตารางกิโลเมตร โดยมีเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ จดตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันออก จดตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรกและตำบลบ้านนาอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศใต้ จดตำบลบ้านรีและตำบลตลาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ทิศตะวันตก จดเทศบาลตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น ๖ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านบางแมว (บางศาลา) อยู่ในเขตเทศบาลไชโยบางส่วน หมู่ที่ ๒ บ้านดอนงิ้ว หมู่ที่ ๓ บ้านทองหลาง หมู่ที่ ๔ บ้านบางท้ายวัด อยู่ในเขตเทศบาลไชโยบางส่วน หมู่ที่ ๕ บ้านโกรกกราก หมู่ที่ ๖ บ้านหางบางศาลา
ประชากร องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ มีจำนวนประชากรทั้งหมด ๒,๘๖๒ คน ดังนี้ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘)
การศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘) ประกอบด้วย - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง (ขยายโอกาสถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓) โรงเรียนวัดชัยสิทธาราม บุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๙ คน นักเรียน จำนวน ๒๑๔ คน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ (อนุบาล ๓ ขวบ) จำนวน ๑ แห่ง บุคลากร จำนวน ๓ คน นักเรียน จำนวน ๕๓ คน - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน ๓ แห่ง
ศาสนา มีวัด ๑ แห่ง คือ วัดชัยสิทธาราม ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๙.๘๙ นับถือศาสนาพุทธของประชากรทั้งหมดและนับถือศาสนาอื่นร้อยละ ๐.๑๑ ของประชากรทั้งหมด
สาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยฤทธิ์ จำนวน ๑ แห่ง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๓ คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน ๗๐ คน มีศูนย์พัฒนาสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน ๖ แห่ง อัตราการมีส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจัดตั้งอาสาสมัครตำรวจชุมชน ๖ หมู่บ้าน จำนวน ๓๐ คน มีอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน ๗๘ คน มีที่พักสายตรวจชุมชน จำนวน ๑ แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ - คลองสาธารณะ ๒ สาย ได้แก่ คลองบางศาลา และคลองดอนงิ้ว - หนองน้ำสาธารณะ ๕ แห่ง ได้แก่ หนองปรัง , หนองรี , หนองลาดใหญ่ ,หนองคชบาล และหนองหัวแตก
สถานประกอบการ/อุตสาหกรรม ฟาร์มไข่ไก่ จำนวน ๑ แห่ง โรงงานผลิตน้ำส้มเกล็ดหิมะ จำนวน ๓ แห่ง โรงงานผลิตออกซิเจน จำนวน ๑ แห่ง ร้านรับซื้อของเก่า/รีไซเคิล จำนวน ๑ แห่ง ร้านให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท จำนวน ๑ แห่ง ร้านซ่อมเครื่องยนต์ทุกชนิด จำนวน ๑ แห่ง ด้านชุมชนและพื้นที่
พื้นที่ตำบลชัยฤทธิ์ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนาและปลูกผัก มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ดไข่ ไก่ และโค การคมนาคมขนส่งและการเดินทาง มีถนนทางหลวงหมายเลข ๓๒ (บางปะอิน - นครสวรรค์) ตัดผ่าน มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร มีความสะดวกในการขนส่งสินค้า และพืชผักผลไม้ ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เข้าสู่ตลาดสะดวก หน่วยงานราชการอื่น
ด้านโบราณสถาน มีอุโบสถวัดชัยสิทธารามที่เป็นประติมากรรมสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นลักษณะ ที่มีประตูเดียวไม่มีหน้าต่างและมีประวัติการถูกรอดพ้นจากการเผาทำลายของพม่าและมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อดำอันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนตำบลชัยฤทธิ์และตำบลข้างเคียง
ด้านสาธารณูปโภค - ระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน ๗ แห่ง - บ่อบาดาล จำนวน ๑๘ บ่อ - แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน ๕ แห่ง - ถนนลาดยาง (ระยะทางรวม ๔.๔ กม.) จำนวน ๒ สาย - ถนนคอนกรีต (ระยะทางรวม ๑๖.๖ กม.) จำนวน ๓๒ สาย - ถนนลูกรัง (ระยะทางรวม ๓.๑ กม.) จำนวน ๗ สาย - ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน ๔๘๘ ดวง - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๓ ตู้
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) จากสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ พบว่าตำบลชัยฤทธิ์ มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งแสดงสินค้าของชุมชนและพัฒนาสู่ตลาดศูนย์กลางระดับจังหวัด เนื่องจากมีพื้นที่ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๓๒ (บางปะอิน-นครสวรรค์) ที่มีผู้ใช้เส้นทางสัญจรเป็นจำนวนมาก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย อาทิ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มกล้วยอบม้วน กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำพริก กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น เหมาะแก่การสร้างส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
|